วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประเพณีการแต่งงานไทย



คนไทยถือว่าการแต่งงานต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายและการ ที่จะไปขอลูกสาวใครแต่งงานต้องให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอม จึงต้องมีการทาบทาม สู่ขอ และหมั้นหมายกันไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานเกิด

เฒ่าแก่ทาบทาม
ในสมัยก่อนผู้หญิงผู้ชายไม่มีโอกาสคบหากันอย่างอิสระอย่างสมัยนี้ เมื่อชายต้องการแต่งงานกับลูกสาวบ้านไหนจึงต้องแต่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม หากฝ่ายหญิงมีท่าทีไม่ไม่รังเกียจจึจะจัดผู้ใหญ่ไปสู่ขออีกครั้ง ในขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงอาจจะขอวันเดือนปีเกิดฝ่ายชายไปตรวจดู ถ้าไม่อยากสานสัมพันธ์กับฝ่ายขายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะได้มีข้ออ้างว่าดวงไม่สมพงษ์กัน

ฤกษ์ยาม
ฤกษ์ยามที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานนี้มีตั้งแต่ฤกษ์ยก ขันหมาก สู่ขอ ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำ ส่งตัวและฤกษ์เรียงหมอนการหาฤกษ์จะดูทั้งวัน เดือน ปีที่สมพงษ์กับคู่แต่งงาน คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือนสิบสองเพราะถือว่าเป็นฤดูที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นข้างแรมโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น "วันจม" วันอังคารและวันเสาร์ถือว่าเป็น "วันแรง" วันพุธก็เป็นวันสุนัขนามไม่ดี วันพฤหัสบดีไม่เหมาะอีกเพราะในตำนานฮินดูนั้นลูกสาวพระพฤหัสบดีแต่งงานไป แล้วมีชู้ วันที่เหมาะจะแต่งงานคือวันศุกร์ เพราะมีเสียงพ้องกับ "สุข"
และถ้าได้วันที่เป็นอธิบดีและวันธงชัยก็ยิ่งดี แต่วันที่ดีเลิศนั้นมีไม่กี่วันในหนึ่งปี คู่ที่ไม่อยากรอนานจึงถือเอา "ฤกษ์สะดวก" คือ ปลอดจากฤกษ์ไม่ดีทั้งหลายเป็นพอ

สินสอด-ทองหมั้น
เมื่อสองฝ่ายเห็นชอบกันว่ามีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายจะแต่งเฒ่าแก่สู่ขอไปเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงถึงเรื่องสินสอดทอง หมั้นและกำหนดวันแต่งงาน สมัยก่อนผู้ชายเป็นผู้ปลูกเรือนหอบนที่ของฝ่ายหญิงตามธรรมเนียม "แต่งเขยเข้าบ้าน" ก็จะมีการตกลงเรื่องนี้กันด้วย

อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ goo.gl/PLSHIJ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น